วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาขาต่างๆของจิตวิทยา




จิตวิทยาคลินิก

        Ψ  จิตวิทยาคลินิกจะมีจุดที่เน้นอยู่ 2 ส่วน คือ การทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา
(ระดับ A คือนักจิตวิทยาสาขาอื่นไม่สามารถทำได้เช่น rorchach WAIS เป็นต้น) และทำจิตบำบัด
การเรียนจะเกี่ยวกับอาการผิดปกติทางจิต ทั้งเรื่องโรค พยาธิสภาพ การใช้เครื่องมือหรือแบบวัดทางจิต เพื่อใช้ในการตรวจเป็นข้อมูลประกอบในการวินิจฉัยโรคทางจิต การทำจิตบำบัด
        งาน - ตรงตามสายงานคือเป็นนักจิตวิทยาคลินิกในโรงพยาบาล เพื่อทำการประเมินและบำบัดทางจิตแก่ผู้ป่วยทางจิตเวช เป็นนักจิตวิทยาตามสถานพินิจหรือศาล เพื่อทำการประเมินสภาพจิตของผู้ต้องหา รวมทั้งทำกิจกรรมหรือบำบัดทางจิตแก่ผู้ต้องขัง ตอนนี้ทางจิตวิทยาคลินิกมีการสอบใบประกอบโรคศิลปแล้ว ซึ่งทำให้คาดว่าน่าจะสามารถเปิดคลินิกบำบัดได้เช่นเดียวกับในต่างประเทศ และจะทำให้สามารถรับงานอิสระได้มากขึ้น

จิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ

        Ψ  จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาจิตวิทยา เพื่อนำมาประยุกต์กับการทำงานและนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทุกระดับในบริบทของการทำงาน ยังผลให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มคุณภาพประสิทธิภาพ และผลิตภาพ(ที่มา:http://www.psy.chula.ac.th/psy/files/ProgramIO.pdf) 
        Ψ  เรียนตั้งแต่คัดเลือกคนเข้าทำงานให้เหมาะสม จะมีคำที่เป็นคติของจิตอุตฯว่า put the right man on the right job อีกส่วนก็คือการฝึกอบรมพนักงาน คือเรียนเกี่ยวกับการพยายามให้งานที่จะออกมานั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง ทรัพยากรมนุษย์ ด้วยอะค่ะ 
งานที่ตรงสาขาที่สุดก็เลยเป็นตำแหน่งฝ่ายบุคคล หรือเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมตามบริษัทหรือโรงงานต่างๆ


จิตพัฒนาการ 

        Ψ  จิตพัฒนาการจะเน้นที่การส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลในทุกช่วงวัยให้เป็นไปตามพัฒนาการของและช่วงวัย ซึ่งมักจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเด็กและวัยรุ่น เรียนพัฒนาการทุกช่วงวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความต้องการทางสังคม การใช้ชีวิต ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่, อุแว้ๆ ออกมา เป็นทารก เป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น, ผู้ใหญ่จนกระทั่งแก่ตาย 
        Ψ  จิตวิทยาพัฒนาการเป็นเสมือนสาขาใหญ่ของจิตวิทยาที่เรียนเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ในทุกช่วงวัย ซึ่งสามารถศึกษาต่อเฉพาะช่วงวัยได้อีกเช่น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น เป็นต้น สาขานี้เกิดจากแนวความคิดที่จะอธิบายพฤติกรรม จิตใจ รวมทั้งความสามารถต่างๆของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย และเพื่อที่หาหาแนวทางที่จะทำให้มนุษย์มีพัฒนาการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยของตนเอง


จิตวิทยาสังคม

        Ψ  จิตวิทยาสังคม เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อทำความเข้าใจอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์(ที่มา: http://www.sau.ac.th/main/Subject/pc102/lesson1.pdf )






จิตชุมชน

        Ψ  จิตวิทยาชุมชนนั้นแยกออกมาจากจิตวิทยาคลินิกอีกทีแต่จะเป็นการทำงานในทางป้องกันมากกว่ารักษา จิตวิทยาชุมชนจะมีลักษณะที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือจะเป็นเหมือนจุดกึ่งกลางระหว่างจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาอุตสาหกรรม และจิตวิทยาสังคม งานที่ส่วนใหญ่มักเข้าไปทำคือการฝึกอบรม






จิตวิทยาการปรึกษา 
        Ψ  จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ การปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้มีปัญหาได้ทำความเข้าใจกับปัญหาของตน และมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง โดยนักจิตวิทยาการปรึกษา (Counselor) มีหน้าที่เป็นผู้เอื้อให้ผู้มีปัญหาได้เข้าใจปัญหาของตนอย่างชัดเจนที่สุด นักจิตวิทยาการปรึกษาจะไม่เข้าไปบงการ แนะนำ หรือ แทรกแซง ผู้รับบริการ แต่ละช่วยให้เค้าสามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตัวเอง
        ผู้เข้ารับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาจะได้รับประโยชน์ ในแง่ของการเกิดความเข้าใจในตนเอง และสามารถวางแนวทางการดำเนินชีวิตตนเองได้อย่างเหมาะสม สามารถเผชิญสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมั่นคง และสามารถจัดการปัญหาของตนได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับความเป็นจริง และยังช่วยให้ค้นพบศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ในการพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ขยายทัศนะการสองโลก และชีวิตก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองในทางที่ดี
ระ(ที่มา: http://www.psy.chula.ac.th/psy/files/intro_counseling.pdf)


จิตวิทยาการแนะแนว

        Ψ  ก็เรียนไปทางเป็นอาจารย์แนะแนวในโรงเรียนอะค่ะ เรื่องที่เรียนเช่น หลักการแนะแนวในโรงเรียนเพื่อพัฒนานักเรียน /ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้สามารถจำแนก ช่วยเหลือและพัฒนานักเรียนได้อย่างเหมาะสม/วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในงานแนะแนว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More